ทําไมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงมีความสําคัญ ?

ก่อนเราจะไปเริ่มอ่านเหตุผลนั้น เรามาทำการจัดกัดความของคำว่า  “ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
มนุษย์  หมายถึง สัตว์ที่รู้จักใช้เหตุผล สัตว์ที่มีจิตใจสูง
ทรัพยากร  หมายถึง  สิ่งทั้งปวงอันเป็นทรัพย์ สิ่งทั้งปวงอันมีประโยชน์หรือมีคุณค่า เช่น ต้นไม้ ดิน พืช แสง น้ำ เป็นต้น
พัฒนา  หมายถึง  ทำให้เจริญ  หรือ ทำให้ก้าวหน้า
   เมื่อนำทั้ง 3 มารวมกัน ก็จะได้ข้อสรุป ดังนี้  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือการทำให้มนุษย์เจริญ มีศักยภาพมากขึ้นจนกลายเป็นทรัพยากรที่มีค่าในสังคม และในประเทศ
   การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง  กระบวนการดำเนินงานที่ส่งเสริมให้ บุคลากรเพิ่มความรู้ และทักษะ  มีพฤติกรรมการทำงานที่เหมาะสมกับงานที่รับผิดชอบ   ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทำไมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงมีความสำคัญ

มนุษย์ต้องการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ในขณะเดียวกันองค์กรก็ต้องการเติบโตตลอดเวลาเช่นกัน องค์กรจะก้าวไปข้างหน้าได้นั้นแน่นอนว่าผู้ที่มีส่วนผลักดันสำคัญก็คือพนักงานทุกคนนั่นเอง ศักยภาพทุกคนย่อมส่งผลต่อศักยภาพขององค์กร หากพนักงานทุกคนทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพย่อมทำให้องค์กรนั้นมีประสิทธิภาพตามไปด้วย ดังนั้นการช่วยส่งเสริมให้พนักงานทุกคนมีศักยภาพในการทำงานที่ดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นภาระกิจหนึ่งที่จำเป็นขององค์กร และผู้ที่มีส่วนสำคัญมากๆ

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  1. ต้องการให้พนักงานในองค์กรพัฒนาฝีมือ, ทักษะการทำงาน, ตลอดจนมีองค์ความรู้ต่างๆ ที่ดีขึ้น เพื่อที่จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์กับการทำงานให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  2. เพื่ออุดรอยรั่วของข้อบกพร่องต่างๆ ที่ทำให้เกิดการทำงานที่ผิดพลาด ตลอดจนแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องต่างๆ เพื่อให้เกิดการทำงานที่ดีขึ้น
  3. เพื่อให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคล ให้ทุกคนรู้สึกถึงการดูแลขององค์กร ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพตลอดจนความสามารถให้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ
  4. เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือในการใช้วัดผลพนักงาน ประเมินประสิทธิภาพการทำงาน
  5. เพื่อใช้วางแผนงาน วางแผนธุรกิจ ตลอดจนวางทิศทางขององค์กรในอนาคตได้
  6. เพื่อให้พนักงานมีความภักดีกับองค์กร ทั้งยังเป็นการรักษาพนักงานไว้ให้ต้องการร่วมงานกับองค์กรในระยะยาวด้วย
  7. เพื่อให้ทุกคนตั้งแต่พนักงาน, ฝ่ายทรัพยากรบุคคล , ฝ่ายบริหาร, ตลอดจนองค์กรเห็นความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ประเภทของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือการพัฒนาแบบเป็นทางการ และแบบไม่เป็นทางการ ดังนี้

  • การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบเป็นทางการ หมายถึง กิจกรรมต่างๆที่ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จัดขึ้นเพื่ออบรมให้ความรู้พนักงาน เช่น เทรนนิ่งต่างๆ การอบรม การสัมมนา
  • การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบไม่เป็นทางการ หมายถึง การโค้ชชิ่งต่างๆ การสอนงานโดยหัวหน้าหรือพนักงานที่มีประสบการณ์ หรือการจ้างผู้อบรมภาพนอกเข้ามาให้ความรู้ ซึ่งส่วนนี้ถึงแม้ฝ่ายบุคคลอาจจะไม่ได้มีส่วนร่วมโดยตรง
หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นการนำศักยภาพของแต่ละบุคคลมาใช้ ในการปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสร้างให้แต่ละบุคคลเกิดทัศนคติที่ดีต่อองค์การ ตลอดจนเกิดความตระหนักในคุณค่าของตนเอง เมื่อพิจารณาจาก

  1. มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่สามารถพัฒนาให้เพิ่มพูนขึ้นได้ ถ้าหากมีแรงจูงใจที่ดีพอ
  2. การพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ควรเป็นกระบวนการต่อเนื่อง ตั้งแต่การสรรหา การคัดเลือกนำสู่การพัฒนาในระบบขององค์กร
  3. วิธีการในการพัฒนาทรัพยากรมีหลายวิธี จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะขององค์การ และบุคลากร
  4. จัดให้มีระบบการประเมินการพัฒนาความสามารถของบุคลากรเป็นระยะ ๆ เพื่อช่วยแก้ไขบุคลากรบางกลุ่ม ให้พัฒนาความสามารถเพิ่มขึ้นและในขณะเดียวกันก็ สนับสนุน ให้ผู้มีขีดความสามารถสูงได้ก้าวหน้าไปสู่ตำแหน่งใหม่
  5. องค์การจะต้องจัดระบบทะเบียนบุคลากรให้เป็นปัจจุบัน ที่สามารถ ตรวจสอบความก้าวหน้าได้เป็นรายบุคคล
ความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก็คือการลงทุนกับพนักงาน ทั้งให้เวลาพนักงานเพื่อพัฒนาตัวเอง และให้ลงทุนเพื่อให้การพัฒนาตัวเองได้ผลมากขึ้น ซึ่งความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก็อยู่ที่การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

ประสิทธิภาพการทำงาน : เป็นข้อดีที่วัดผลได้ทางธุรกิจได้ชัดเจนมากที่สุด หมายความว่าพนักงานทำงานดีขึ้น ทำงานเร็วขึ้น ซึ่งก็จะเป็นการลดต้นทุน เพิ่มความเร็วในการทำงาน และเป็นการเพิ่มผลผลิตด้วย

ดึงดูดพนักงานใหม่ : องค์กรส่วนมากมีการรับพนักงานใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่กำลังเติบโต ซึ่งค่าใช้จ่ายในการดึงดูดพนักงานนั้นก็รวมถึงการลงโฆษณาประกาศหางาน

ทำให้พนักงานรักองค์กร : พนักงานที่รักองค์กรก็จะอยู่กับองค์กรนานขึ้น ในความเป็นจริงแล้ว ยิ่งเราลงทุนกับพนักงานน้อย พนักงานยิ่งอยากลาออก และยิ่งเราลงทุนกับพนักงานเยอะ โอกาสที่พนักงานจะลาออกก็มีน้อยลง

ในมุมมองขององค์กรนั้น ยิ่งพนักงานอยู่กับองค์กรนานแค่ไหน ตามหลักการแล้วเงินเดือนของพนักงานก็ควรจะถูกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหมายความว่าองค์กรก็มีแรงจูงใจในการทำให้พนักงานเก่งขึ้น ทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้ค่าแรงของพนักงานแต่ละคนมีผลตอบแทนมากขึ้น