VUCA World คืออะไร? ปรับตัวอย่างไรในสถานการณ์วิกฤต
จากสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี พฤติกรรมผู้บริโภค การแทนที่ของรูปแบบธุรกิจ Disruption สงครามการค้าระหว่างประเทศ และมาถึงสถานการณ์ของไวรัสขณะนี้ สภาวะสงครามรัสเซีย ยูเครน ภาวะเงินเฟ้อ ทำให้เกิดผลกระทบต่อกันมาเรื่อยๆ อย่างมีนัยสำคัญ จนเราก็ไม่รู้ว่ามันจะจบลงเมื่อไหร่ และก็ไม่สามารถคาดการณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดในอนาคตได้ สถานการณ์แบบนี้ เรียกว่า ” วูก้า ” VUCA หรือ VUCA World
แล้ว VUCA คืออะไร?
คำว่า VUCA นั้นถูกใช้ครั้งแรกใน U.S. Army War College ซึ่งนักศึกษาทหารได้ใช้คำย่อนี้เพื่ออธิบายสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยความผันผวน ยากจะคาดเดา มีความซับซ้อนสูง และคลุมเครือเกินกว่าจะอธิบายได้ ซึ่งมันก็คำอธิบายสถานการณ์หลังจากเหตุการณ์สงครามเย็น ในปี 1991 ที่เต็มไปด้วยความรุนแรงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่มีสงครามอัฟกานิสถานและอิรักนั่นเอง ซึ่งในเวลาต่อมา คำว่า VUCA ก็เริ่มแพร่หลายมากขึ้นในวงการอื่นๆด้วย เพื่อนำมาอธิบายสถานการณ์ที่ยากจะอธิบาย คาดเดาไม่ได้ และไม่แน่นอน โดยความหมายของ VUCA นั้นมาจากคำ 4 คำ คือ
- Volatility คือสถานการณ์ที่มีความผันผวนสูง ยากที่จะคาดเดา เป็นสถานการณ์ที่เกิดฉับพลันไม่ทันตั้งตัว
ตัวอย่างเช่นใน ตลาดหุ้น การเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน ฯ ซึ่งเหตุการที่ทำให้เกิดความผันผวน ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอก (สภาพแวดล้อม) ซึ่งเป็นปัจจัยที่เราไม่สามารถควบคุมได้ (ย้ำชัดๆ คือ ปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้) นอกจากนี้ยังมีปัจจัยด้านช่วงเวลาเข้ามาเกี่ยว เพราะมีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาอันสั้น เราจึงเรียกมันว่า ความผันผวน แต่ในทางกลับกัน ถึงแม้จะเกิดการเปลี่ยน แต่ใช้ระยะเวลานาน เราก็คงจะไมjเรียก ความผันผวน (อาจจะเรียกว่า กระแส หรือเทรนด์ แทน)
- ส่วนผลกระทบของความผันผวน ก็คือ ความเสี่ยง การไม่มีเสถียรภาพ ความไม่เชื่อมั่น หรือการเปลี่ยนแปลงแบบไม่มีกฎเกณฑ์
- แนวทางออกของเหตุการณ์ที่มีความผันผวน คือ Vision (ปรับมุมมอง) ด้วยการเปิดรับมุมมองหลายๆแง่ หรือหามุมมองแบบใหม่ เพราะความผันผวนสูง มุมมองที่ต้องมอง คือ การมองหาค่าเฉลี่ย หรือหาแนวโน้มของสถานการณ์นั้น และเปลี่ยน Mindset เป็นการมองแบบองค์รวม ภาพรวม
- Uncertainty คือสถานการณ์ที่ไม่มีความแน่นอนสูง ไม่ชัดเจน ยากจะอธิบายตัวอย่างของสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอน เช่น การปรับเปลี่ยนองค์กร/บริษัท การทดแทนของธุรกิจสมัยใหม่ หรืออาชีพในอนาคต จุดยืนทางการเมือง ฯ ปัญหาหลักของสถานการณ์ที่ไม่มีความแน่นอน หรือไม่กล้าตัดสินใจ ก็คือ การที่เราไม่มีข้อมูล (ย้ำชัดๆ คือ ไม่มีข้อมูล) เพราะเมื่อไม่มีข้อมูล เราก็จะคาดการณ์ไม่ถูก เพราะไม่มีข้อมูลอะไร ที่จะนำมาใช้วิเคราะห์ จึงทำให้ไม่แน่ใจ จึงเกิดเป็นสถานการณ์ที่ไม่มีความแน่นอน นอกจากนี้ยังเสริมด้วยปัจจัยภายนอกอื่นๆ ที่แอบแฝงและทันคาดคิดเพิ่มเติมใหม่ด้วย ก็ยิ่งจะทำให้เกิดความไม่แน่นอนสูง
- ส่วนผลกระทบของความไม่แน่นอน คือ ภาวะชะงักงัน การชะลอตัว การปิดระบบ และเกิดได้ทั้งวิกฤตและโอกาส
- แนวทางออกของเหตุการณ์ที่ไม่มีความแน่นอน คือ Understanding (ต้องเข้าใจสถานการณ์) แต่การที่เราจะเข้าใจ และรู้ถึงสถานการณ์ได้ เราจะต้องมีข้อมูลก่อน และต้องเป็นข้อมูล ข้อเท็จจริง และต้องจะอัพเดทให้ตรงกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาของความไม่แน่นอน ได้ทันท่วงที
- Complexity คือสถานการณ์ที่มีความซับซ้อนสูง มีปัจจัยมากมายที่ต้องนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจ
ตัวอย่างสถานการณ์ของความซับซ้อน เช่น โครงสร้างระบบทางการเงิน ทางเศรษฐกิจ ฯ โดยปัญหาหลักของสถานการณ์ที่มีความซับซ้อนสูง ก็คือ การมีตัวแปรหลายตัว ที่ถูกเชื่อมโยงกัน และส่งผลกระทบต่อกัน อย่างมีนัยสำคัญ (ย้ำชัดๆ คือ การมีหลายตัวแปร ที่มีผลกระทบต่อกัน) อีกทั้ง แต่ละตัวแปร ก็มีระดับอิทธิพลที่แตกต่างกันอีก ดังนั้น สถานการณ์ที่มีความซับซ้อนสูง มักจะเกิดขึ้นกับระบบที่มีโครงสร้างระบบใหญ่ๆ
- ผลกระทบของสถานการณ์ที่มีความซับซ้อนสูง คือ เกิดความยุ่งยากในการแก้ไข ทำให้ต้องใช้เวลานานในการจัดการแก้ไขปัญหา และตัวแปรบางตัวอาจมีผลกระทบต่อเนื่องกัน แบบโดมิโน ซึ่งถ้าตัวแปรใดหนึ่งล้มไป ก็จะส่งผลต่อ ตัวแปรอื่นล้มไปด้วย (ซึ่งถ้าเกิดวิกฤตรุนแรง อาจจะล้มทั้งระบบก็ได้)
- แนวทางการแก้ไขปัญหาความซับซ้อน คือ Clearity (สร้างความชัดเจน)
โดยการจัดระบบระเบียบข้อมูล จัดระดับความสัมพันธ์ของตัวแปร ตัดข้อมูลที่ไม่จำเป็นออกไปก่อน รวมถึงต้องปรับโครงสร้างระบบใหม่ เพื่อให้เรามองเห็นภาพรวมที่ชัดเจน และการจัดการที่ง่ายยิ่งขึ้น แต่ก็ต้องบอกว่าในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ที่มีความซับซ้อน บางครั้งเราก็ต้องยอมเสีย หรือตัดตัวแปรบางอย่างทิ้งไป เพื่อทำให้ปัญหาที่ใหญ่กว่า คลี่คลาย ชัดเจน
- Ambiguity คือสถานการณ์ที่มีความคลุมเครือสูง เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ยากจะคาดเดาผลลัพธ์
ตัวอย่างสถานการณ์ที่มีความคลุมเครือ เช่น เป็นมากกว่าเพื่อน แต่ไม่ใช่แฟน (แล้วเป็นอะไรว๊า ?)หรือสถานการณ์ตอนนี้ คือ การติดเชื้อไวรัส Covid-19 มีจำนวนที่แท้จริงเท่าไหร่ และเราควรมีมาตรการป้องกันอย่างไรบ้าง พูดง่ายๆ คือ สถานการณ์ที่ไม่ชัดเจน มันก็เลยคลุมเครือ
โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดความคลุมเครือ จะคล้ายกับ ความไม่แน่นนอน
- อย่างแรก ก็คือ ข้อมูล หรือความเป็นจริง เมื่อเราไม่มีข้อมูลที่แท้จริง มาใช้ประกอบในการตัดสินใจ ความคลุมเครือจึงเกิดขึ้น
- อย่างที่สอง คือ การแปลความ หรือตีความ ซึ่งบางที่ เราก็บอกว่ามีข้อมูลแล้ว แต่ก็ยังคลุมเครือ ก็เพราะว่ามันขึ้นอยู่กับ การแปลความหรือตีความ ข้อมูลนั้นอย่างไร (ย้ำชัดๆ คือ การตี-แปลความผิด)
เช่น คนที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ถ้ามีการวัดอุณหภูมิแล้ว ไม่ได้เป็นไข้ ก็สรุปผลว่า ไม่ได้ติดไวรัส Covid-19 อันนี้เราอาจจะ ตีความผิดรึป่าว ? หรืออย่างจำนวนผู้ป่วยในประเทศเราที่มีหลักสิบ หลักร้อย (*ถ้าเป็นตัวเลขที่จริงนะ) การคงอยู่ในระดับที่ 2 ก็เหมาะสมแล้ว (ตามหลักมาตรฐาน)
- ผลกระทบจากการที่ส่วนใหญ่เรามักจะตีความผิด คือ การใช้ความรู้สึก(ด้านอารมณ์) มากกว่า เหตุผล (ข้อมูลจริงที่แสดง) ส่งผลให้เกิดความไม่แน่ใจ และยิ่งทำให้สถานการณ์เกิดความคลุมเครือมากขึ้นไปอีก
- แนวทางของการแก้ไขสถานการณ์ที่มีความคลุมเครือ ก็คือ Agility (ฉลาด ว่องไว ปราดเปรียว)
โดยการนำข้อมูล ข้อเท็จจริงมาใช้ในการตัดสินใจ ด้วยความว่องไว แต่ก็ต้องผ่านการคิดวิเคราะห์ด้วยความฉลาด รวมถึงอาศัยความปราดเปรียว ในการหาแนวทางสำรอง หรือแผนการฉุกเฉิน เพื่อพลิกสถานการณ์ให้กลับมาอยู่ในเกมส์ได้ และจะต้องตัดสินใจให้เด็ดขาดไปเลย ถ้าเกิดความผิดผลาด ก็เลือกใช้แผนสำรองที่เราเตรียมไว้ …(การวางกลุยทธ์ที่ดี จึงต้องมีแผนการฉุกเฉิน แนบท้ายเพิ่มเข้าไปด้วยเสมอ)
จากความหมาย จากตัวอย่างที่ยิบยกมา รวมถึงผลกระทบและแนวทางการแก้ไข ในแต่หัวข้อ เมื่อเรานำมาพิจารณาเทียบเคียงในสถานการณ์โลกปัจจุบันจะเห็นได้ว่า VUCA ถือเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นมากทีเดียวที่จะต้องใส่ใจ เพราะการที่องค์กรจะอยู่รอดภายใต้ความเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและรวดเร็วเช่นนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้นำองค์กรจะต้องรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง ทบทวนตัวเอง และปรับตัวอย่างต่อเนื่อง
และไม่ว่าคุณจะเป็นผู้บริหาร หรือพนักงานองค์กรในยุคปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงสูง และรวดเร็วนี้