สถานการณ์ทรัพยากรมนุษย์ในยุคศตวรรษที่ 21
ยุคศตวรรษที่ 21 เป็นยุคที่โลกและสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก ในขณะเดียวกันโลกทั้งโลกต่างก็เชื่อมต่อกันได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ประชากรแต่ละประเทศต่างกลายเป็นประชากรโลกที่แทบจะรับรู้เรื่องราวต่างๆ ตลอดจนมีพฤติกรรมคล้ายกัน แล้วมนุษย์นี่แหละคือบุคคลากรสำคัญในการขับเคลื่อนโลกใบนี้
ในส่วนขององค์กรต่างๆ ก็เช่นกัน เริ่มเล็งเห็นความสำคัญว่าทรัพยากรบุคคลของตนนี่แหละที่มีส่วนสำคัญอย่างมากในการพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้า ดังนั้นเราจึงเห็นการใส่ใจบริหารทรัพยากรมนุษย์กันอย่างเอาจริงเอาจัง ซึ่งหากมนุษย์มีศักยภาพที่เพิ่มขึ้นแน่นอนว่าองค์กรตลอดจนโลกใบนี้ก็ล้วนแล้วแต่ได้รับผลประโยชน์ไปพร้อมๆ กัน หนึ่งในการเคลื่อนไหวที่น่าสนใจนั้นก็คือการเกิด องค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills : P21) ซึ่ง P21 นี้เป็นเครือข่ายที่ร่วมมือกันตั้งแต่หน่วยงานรัฐไปจนถึงบริษัทเอกชนของอเมริกาในการร่วมกันพัฒนา “ทักษะแห่งอนาคตใหม่” เพื่อที่จะสร้างบุคคลากรที่เหมาะสมกับศตวรรษที่ 21 นั่นเอง
ในส่วนของเมืองไทยเองก็เริ่มหันมาใส่ใจกับทรัพยากรมนุษย์มากขึ้นเช่นกัน จะเห็นได้ชัดจาก แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) ซึ่งเป็นช่วงเวลาคาบเกี่ยวของการก้าวสู่ศตวรรษใหม่ โดยแผนฯ นี้ได้เริ่มหันมาสนใจกับการพัฒนาทรัพย์กรมนุษย์ในชาติอย่างเป็นจริงเป็นจังไม่แพ้การพัฒนาเศรษฐกิจ มีการระบุเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตลอดจนเพิ่มศักยภาพของคนในชาติให้เพิ่มขึ้น ซึ่งนั่นส่งผลให้องค์กรต่างๆ ต่างก็เริ่มหันมาใส่ใจในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจังเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายพัฒนาประเทศด้วย และยังคงให้ความสำคัญกันเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งเทรนด์ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นี้ก็ยังเป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสำคัญไม่แพ้กันอีกด้วย หลายองค์กรต่างแข่งกันพัฒนาศักยภาพทรัพยากรบุคคลของตนจนเป็นผลสำเร็จให้เห็นมาแล้วมากมาย และทรัพยากรมนุษย์นี่แหละคือปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงขับเคลื่อนโลกใบนี้นั่นเอง
ศตวรรษที่ 21 นี้ถือเป็นยุคที่เรียกว่า Information Age หรือ Digital Age ซึ่งเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดดนั้นทำให้โลกใบนี้เปลี่ยนแปลงว่องไวมากขึ้นเรื่อยๆ รวมไปถึงเรื่องของธุรกิจที่มีการเปลี่ยนรูปแบบมากมาย ตลอดจนองค์กรต่างๆ เองก็มีการปรับตัวตามกระแสให้ทันเช่นกัน ในยุคดิจิทัลนี้เราเริ่มได้ยินศัพท์แปลกๆ ตลอดจนองค์ความรู้ใหม่ๆ มากมาย เริ่มตั้งแต่ Digital Transformation หรือการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อหลายสิ่งและหลายส่วน แล้วเทคโนโลยีเองก็เริ่มเข้ามามีบทบาทในสิ่งต่างๆ มากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย
อีกหนึ่งประโยคที่เรามักได้ยินบ่อยๆ ในช่วงนี้ก็คือ Disruptive World หรือแม้แต่ Career Disruption การปฎิวัติทางอาชีพตลอดจนการปฎิรูปองค์กรขนาดใหญ่ที่เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง นั่นทำให้ไม่ว่าจะอาชีพใด หรือธุรกิจประเภทไหน ต่างก็ได้รับผลกระทบและต้องปรับตัวกันหมด นั่นรวมถึงฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ (HR) ที่องค์กรจำนวนมากทั้งในต่างประเทศและเมืองไทยต่างก็เริ่มขยับตัวปรับเปลี่ยนให้ก้าวสู่ยุค Digital HR หรือ AIHR ที่เริ่มนำเทคโนโลยี AI มาใช้กับงานด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์กันแล้ว ซึ่งหากมองในแง่ดีแล้วยุคดิจิทัลนี้จะทำให้ฝ่าย HR ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย ซึ่งหนึ่งในกระบวนการที่ถูกนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากที่สุดนั้นก็คือส่วนของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั่นเอง มาลองดูกันว่า Digital HRD ที่กำลังถูกนำมาใช้นั้นเป็นอย่างไร และมีอะไรน่าสนใจ หรือองค์ความรู้ไหนที่ฝ่าย HR ควรเติมความรู้ไว้บ้าง
** ข้อมูลเพิ่มเติม เสริมความรู้ **
S.M.A.C
ศัพท์สายดิจิทัลที่กำลังมาแรง และ เป็นศัพท์ที่ฝ่าย HR ควรจะต้องรู้ คือ S.M.A.C เป็นตัวย่อที่มาจาก
- S – Social คือโลกของโซเชี่ยลมีเดียต่างๆ ที่มีตั้งแต่พื้นฐานที่รู้จักกันดี โดย HR ควรรู้จักและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับงานของตนและองค์กร
- M – Mobile ในที่นี้หมายถึง Mobile Device ที่นับตั้งแต่สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต โน๊ตบุ๊ค ไปจนถึงอุปกรณ์ดิจิทัลพกพาต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน
- A – Analytics คือ การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งจากเครื่องมือออนไลน์ต่างๆ ไปจนถึงระบบต่างๆ ที่สร้างขึ้นเฉพาะตัว เพื่อนำ ข้อมูล มาใช้ประโยชน์
- C – Cloud คือระบบเก็บข้อมูลตลอดชนเชื่อมข้อมูลแบบออนไลน์ บางครั้งข้อมูลมีเป็นจำนวนมากการเชื่อมต่อผ่านระบบ Cloud นั้นจะทำให้ทุกคนเชื่อมต่อข้อมูลถึงกันได้ง่ายไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนบนโลกก็ตาม
โดยทั้ง 4 คำนั้นเกี่ยวเนื่องกับโลกดิจิทัลทั้งสิ้น และ HR จะต้องนำมาใช้ประโยชน์ร่วมกันให้เกิดประโยชน์กับพนักงานและองค์กรสูงสุด รวมทั้งยังเป็นการปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก