Agile ฝ่าวิกฤต ด้วยวิธีคิดในการทำงานแห่งอนาคต

ในช่วงเวลาสองถึงสามปีนี้ทั้งโลกเผชิญกับการระบาดครั้งใหญ่ของ Covic-19 ที่สร้างความยากลำบากอย่างมากแม้สถานการณ์จะคลี่คลายลงบ้างแล้ว ธุรกิจก็ยังต้องเข้ามาเผชิญกับปัญหาสงคราม รัสเซีย-ยูเครน แถมด้วยภาวะเงินเฟ้อที่เข้ามาเป็นวิกฤตอีกระลอก แล้วไม่ใช่ทุกครั้งที่ธุรกิจจะรอดพ้นจากวิกฤตได้เสมอไป มีบริษัท หรือแบรนด์ต่างๆ จำนวนไม่น้อยที่ต้องปิดตัวลง แต่ก็มีหลายบริษัท หรือหลายแบรนด์เช่นเดียวกันที่พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสและสามารถเติบโตต่อไปได้

ในยุคดิจิทัลเทคโนโลยีทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แนวทางการบริหารก็เปลี่ยนไปเพื่อให้พร้อมปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ จะเห็นได้ว่าทั้งวิกฤตต่างๆ ทั้งเทคโนโลยีที่เปลี่ยนผ่านไปอย่างรวดเร็ว ทำให้องค์กรต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดในการทำงานให้ทันต่ออนาคต Agile เป็นคำที่ผู้คนในแวดวงธุรกิจยุคใหม่ให้ความสนใจและพูดถึงกันมากขึ้นเรื่อยๆ แล้ว Agile “อไจล์”คืออะไร จะช่วยพัฒนาองค์กรของเราได้จริงหรือ แนวทางอไจล์มีอะไรบ้าง แล้วทำอย่างไร ช่วยพัฒนาองค์กรเราได้จริงหรือ

Agile คืออะไร

ตามความหมาย Agile มีรากศัพท์มาจากคำว่า Agility คือความคล่องตัว การปรับตัว

ส่วนที่มาของแนวคิดนี้ เริ่มต้นจากความต้องการทำงานพัฒนาซอฟต์แวร์ให้เร็วขึ้น ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงคิดถึงการทำงานแบบข้ามขั้นตอน(Cross Functional) แทนที่การทำแบบรอตามขั้นตอน(Waterfalls) กลุ่มผู้ร่วมคิดค้นในตอนนั้นเรียกมันว่า Agile Manifesto หนึ่งในผู้ร่วมคิดค้น และเป็นประธาน Agile Consortium International คือคุณ แอรี ฟาน เบนเนคุม(Arie van Bennekum) หลักสำคัญที่ถือว่าเป็นหัวใจของ Agile มี 4 ข้อคือ

หลักการทำงานแบบอไจล์
  1. Individuals and interactions over processes and tools เน้นการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กันระหว่างคน มากกว่าเครื่องมือต่างๆที่นำมาช่วย
  2. Working software over comprehensive documentation เน้นทำผลิตภัณฑ์ มากกว่าการทำเอกสาร
  3. Customer collaboration over contract negotiation เน้นตอบสนองผู้ใช้งาน มากกว่าแค่ทำตามสัญญา
  4. Responding to change over following a plan เน้นการปรับปรุงพัฒนา มากกว่าการทำตามแผนที่วางเอาไว้
จากความหมายและหลักการทำงานแบบ Agile จึงพอสรุปลักษณะการทำงานได้ดังนี้
  • ทำงานแบบ Cross-functional team สำหรับการทำงานบนพื้นฐานของ Agile คือ ใช้คนจากหลายสายงานมาอยู่ในทีมเดียวกันเพื่อสร้างความเข้าใจในรายละเอียดของงานได้ง่ายยิ่งขึ้น ประสานงานกับส่วนต่างๆ ได้คล่องตัวมากกว่าเดิม
  • ทีมสามารถตัดสินใจและกำหนดทิศทางของ Project ได้มากขึ้นโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการขออนุมัติจากองค์กร เพื่อเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการทำงานมากที่สุด
  • มีตัวบุคลากรในการทำงานโครงการนั้นๆ โดยเฉพาะ เพื่อรับผิดชอบงานในแต่ละส่วน
  • สามารถแบ่ง Projectใหญ่ให้เป็น Projectย่อยเพื่อกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในช่วงระยะเวลาสั้นๆ และส่งมอบผลงานตาม Projectย่อยเพื่อประเมินผล หากเกิดข้อผิดพลาดก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ง่ายยิ่งขึ้น
  • บุคลากรในทีมสามารถรับรู้สถานะของProjectที่ถือได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นความคืบหน้า ปัญหา การปรับเปลี่ยนแก้ไข ไปจนถึงการวัดผลต่างๆ
  • ต้องมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้งเรียนรู้ข้อผิดพลาดและข้อดี เพื่อหาข้อบกพร่องและทำให้Projectที่ถืออยู่นั้นสามารถทำงานได้อย่างดี
ในยุคปัจจุบันนี้ที่ Agile คือเรื่องจำเป็นที่องค์กรต่างๆ สามารถนำมาพัฒนาทั้งตัวบุคลากรและการทำงานบริหารโปรเจคต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งคุณสมบัติที่ควรจะต้องมีในตัวคือ
  • เป็นผู้รับฟังที่ดี พร้อมเปิดรับกับสิ่งใหม่ๆ
  • มีการตัดสินใจที่รวดเร็ว
  • พร้อมที่จะก้าวออกไปนอกเขตความคุ้นเคยเดิมๆ (ออกจาก comfortzone ของตัวเอง)
  • มีการสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคนอื่นๆ ที่มีความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลาย
  • เตรียมตัวพร้อมรับมือกับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ไม่พร้อม
  • สร้างตัวเลือกในการหาทางออกแทนการยึดติดกับคำตอบเดียว
  • ตระหนักถึงความเร่งด่วนของปัญหา
  • เรียนรู้จากข้อผิดพลาดและหาแนวทางในการแก้ไขอย่างรวดเร็ว

แนวคิดการทำงานแบบ Agile ถูกนำมาปรับใช้กับ HR ขององค์กรในปัจจุบัน

เพราะวัตถุประสงค์หลักของ Agile ไม่ใช่การทำเพื่อบริษัทหรือองค์กร แต่จุดประสงค์ที่แท้จริงคือทำเพื่อ “คน” ในองค์กรต่างหาก เพื่อให้คนในองค์กรสามารถบริหารจัดการงานของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดปัญหาการเกี่ยงงาน Workload จนทำไม่ทัน การปัดความรับผิดชอบและโยนความผิดให้ผู้อื่น วัตถุประสงค์ของ Agile คือลดปัญหาเหล่านี้ และนั่นคือเป้าหมายของ Agile คือการทำให้วิถีชีวิตของคนในองค์กรดีขึ้น ไม่ได้ทำให้องค์กรดีขึ้น เพราะคำว่าองค์กรนั้นไม่มีจริง หากปราศจาก “คน” ฉะนั้นสิ่งที่ HR ต้องทำคือ

  1. HR ต้องเปลี่ยนแนวคิด(mindset)เป็นอันดับแรก ต้องตอบสนองต่อความต้องการของพนักงานด้วยความรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ โดยคำนึงถึงผลลัพธ์มากว่าขั้นตอนและกฎเกณฑ์
  2. สร้างวัฒนธรรมในการทำงานที่เน้นการปรับปรุงพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
  3. รับฟังเสียงตอบรับจากพนักงานต่อสิ่งที่ลงมือทำ
  4. ใส่ใจผุ้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ที่วิจารณ์ผลงานหรือกระบวนการการทำงาน ซึ่งรวมทั้งพนักงาน ผู้ใช้งาน เจ้าของบริษัท ทีมพัฒนา
  5. นำผลตอบรับมาปรับปรุง กระบวนการทำงานให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ

หากบริษัทและคนในองค์กรไม่ได้เข้าใจแนวคิดการทำงานแบบ Agile ดีพอก็จะทำให้พลาดเกิดปัญหาที่ส่งผลต่องานได้ และยิ่งไปกว่านั้นคือ จะไม่เกิดการระดมความคิดเพื่อแก้ไขปัญหาขึ้น และยังส่งผลให้เกิดความล้าช้าในการทำงาน ซึ่งขัดกับการหวังผลความเร็วรวดในการทำงานที่เกิดจากแนวคิดแบบ Agile ก็จะทำให้พลาดเกิดปัญหาที่ส่งผลต่องานได้ และยิ่งไปกว่านั้นคือ จะไม่เกิดการระดมความคิดเพื่อแก้ไขปัญหาขึ้น และยังส่งผลให้เกิดความล้าช้าในการส่งงาน ซึ่งขัดกับการหวังผลความเร็วรวดในการทำงานที่เกิดจากแนวคิดแบบ Agile

ฉะนั้นควรที่จะพิจารณาให้ดีก่อนจะนำมาใช้ อาจลองสำรวจก่อนว่า ตอนนี้ทีมงานของคุณมีปัญหาอะไรหรือไม่ ถ้าไม่มี แนะนำว่ายังไม่ต้องใช้ Agile เพราะนั่นแปลว่า ระบบงานของทีมดีอยู่แล้ว แต่หากมีปัญหาติดขัดหรือพบเจออุปสรรคที่คิดว่า Agile แก้ไขได้ ก็สามารถลองทำดูได้ โดยต้องไม่ลืมว่า Agile เองก็อาจพาปัญหารูปแบบใหม่มาให้ เช่น หัวหน้าอาจรู้สึกเสียการควบคุม เพราะอำนาจตัดสินใจย้ายไปอยู่ที่ทีมงาน ดังนั้นก่อนตัดสินใจ ลองชั่งน้ำหนักถึงความคุ้มค่า พร้อมถามพนักงานของตัวเองด้วยว่า ทุกคนพร้อมแล้วจริงๆ ใช่หรือไม่

Agile ไม่ใช่เรื่องไกลตัว ไม่ใช่คำศัพท์เท่ๆ ไม่ใช่เครื่องมือหรือกระบวนการ แต่มันเป็นวิธีคิดในการทำงานแห่งอนาคต”