Workload งานงอก ควรพอหรือไปต่อดี?

อยากตะโกนออกมาว่า “งานหนักเกินไปแล้ว” จะหาความสุขจากไหนได้บ้าง

ไม่ว่าจะเป็นช่วงก่อนโควิดที่ต้องทำงานในออฟฟิศ หรือในช่วงโควิดที่ต้อง Work From Home จนกลับมาทำงานที่ออฟฟิศอีกครั้งมนุษย์ออฟฟิศหลายต่อหลายคนเหน็ดเหนื่อยกับปริมาณงานที่ถาโถมเข้ามาจนหมดแรงกายแรงใจ เครียดจน แทบจะหมดไฟทำงาน จะทนได้นานแค่ไหน

หลายคนใช้การทน หรือถูกสั่งจากผู้บริหาร ให้ทนทำงานที่มากขึ้นจนเกินศักยภาพของเรา ควรมีตัวช่วยอย่างไรให้เราผ่านช่วงนี้ไปได้

  1. สื่อสารกลับ หากงานคุณโหลดมากจนเกินไป ก็ควรสื่อสารกลับไป อาจจะเริ่มจากการคุยกับระดับหัวหน้าก่อน แต่ต้องตั้งเป้าของการคุยว่าไปคุยเพื่ออะไร อย่าไปคุยเพื่อระบาย ควรไปคุยเพื่อความเข้าใจ อาจจะพูดถึงความกังวลของตัวเองไปก่อน หลังจากนั้นอย่าเพิ่งพูดข้อความของตัวเอง ดูจากลักษณะท่าทางและความรู้สึก รับฟังข้อความจากเค้าก่อน แล้วพิจารณาดู้ว่าเราควรพูดแบบไหน แล้วเมื่อพูดควรนำเสนอให้เห็นภาพในแง้ของข้อจำกัด เพื่อขอคำปรึกษาหาวิธีการแก้ไข
  2. ปริมาณที่ต้องสอดคล้องกับคุณภาพ การจัดการงานตามความสำคัญในกรอบเวลาที่เหมาะสมจะได้งานที่มีคุณภาพ แต่หากมีการเร่งรัดคุณภาพงานอาจจะลดลง บางครั้งการทำงานคนที่รู้ถึงปัญหาคือคนที่ทำงานนั้นเอง หากปริมาณของงานที่เยอะเกินไป และต้องการงานที่เร็วขึ้นจนทำให้งานคุณภาพน้อยลง ควรต้องมีการสื่อสารเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันกับทางหัวหน้าว่าจะรับได้กับคุณภาพของงานที่ตกลงตามแนวโน้มของศักยภาพที่เรามีเพราะงานด่วนที่มากขึ้นได้หรือไม่
  3. บอกถึงปัจจัยด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต เพื่อให้หัวหน้าและตัวเราเองได้พิจารณาการทำงานจนร่างกายหรือสภาพจิตใจย่ำแย่ไม่ส่งผลดีต่อการทำงาน อาจสร้างภาวะการหมดไฟในการทำงาน ความเครียด รวมถึงสุขภาพร่างกายการเจ็บป่วย จึงควรบอกเพื่อทำการแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาลุกลามไปจนถึงการสูญเสียสุขภาพ หรือการลาออกที่จะตามมาเมื่อเราทนไม่ไหว
  4. อย่าคาดหวังมากกับการพูดคุยเพื่อแก้ไขสถานการณ์ เพราะหลายครั้งการพูดคุยมักจบด้วยการที่เราต้องทนทำงานเหล่านั้นต่อไป ด้วยเหตุผลหลากหลายแล้วแต่คนที่เราไปสื่อสารด้วยจะมีวิสัยทัศน์แบบใด คุณอยู่ในวัฒนธรรมองค์กรแบบไหน แต่อย่างไรก็ควรสื่อสารออกไปตามสิทธิพื้นฐานที่เรามีอยู่
องค์กรในปัจจุบันมีการปรับตัวขององค์กรมากมาย

ไม่ว่าจะเป็นการ Lean หลายๆอย่างออกเติมหลายๆอย่างเข้า สิ่งที่กระทบก็คือคนที่อยู่ในองค์กร จนอาจเกิดภาวะงานโหลดสำหรับคนที่อยู่ในองค์กร หลายคนเจอสภาวะงานงอก งานด่วน งานไว จากการโยนงานของคนที่ต้องออกไป แล้วไม่มีคนมาแทนจนต้องมอบงานให้คนที่อยู่

มันคือวิกฤต ที่เกิดขึ้นกับทุกองค์กรในสภาวะปัจจุบัน คุณอาจทำได้แล้วอยู่รอดด้วย Survivor Mode คุณเองอาจเห็นหรือดึงศักยภาพใหม่ๆของคุณมากมาได้โดยไม่รู้ตัว เข้าใจและยอมทำได้ด้วยเข้าใจในสถาการณ์ หัวใจหลักคือ “ความเข้าใจ”แต่หากองค์กรไม่ได้สร้างเข้าใจ ความอยากทำจะน้อยลง แล้วสักช่วงก็จะเกิดอาการเบื่อและหมดไฟในการทำงาน แล้วจะมีคำถาม ว่า “จะไปต่อหรือพอแค่นี้” องค์กรที่ดีจึงควรทำความเข้าใจกับพนักงานตลอดเวลา และอาจมีการอัพเดทสถานการณ์ต่างๆ คำชื่นชมต่างๆ เพื่อสร้างกำลังใจในการทำงาน รวมถึงการสื่อสารระหว่างกันให้มากขึ้นเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันโดยเฉพาะการทำงาน Work from Home นอกจากงานควรถามด้วยความห่วงใย การแสดง Empathy ทำให้พนักงานเกิดความจงรักภักดีต่อบริษัท นี่คือมุมมองของบริษัทและสิ่งที่ควรทำ

ส่วนมุมมองของพนักงาน

เมื่อต้องมีงานด่วน พนักงานเองต้องปรับ Mind Set ให้มีความพร้อมสำหรับภาวะงานด่วน เราเรียนรู้และพร้อมเสมอสำหรับงานด่วน จัดลำดับความสำคัญก่อนหลังให้ได้ เตรียมรับมือแรกๆอาจจะยุ่งเหยิง แต่ช่วงหลังก็จะสามารถทำได้

แต่ควรมีการสื่อสารสะท้อน Feedback

ไปให้ในส่วนการบริหารอื่นๆ ด้วยเพราะถ้าเราบริหารจัดการแล้ว ฝ่ายอื่นไม่บริหารจัดการงานให้การทำงานก็ไม่สามารถสำเร็จได้งานจะมาเหนื่อยแค่คนเดียวทำให้หมดไฟในการทำงาน การระดมความคิดเห็นของทีม การดูแลซึ่งกันและกันในกลุ่มงาน ตั้งเงื่อนไขในการทำงาน ข้อต่อรองที่เหมาะสมกับเวลาและกรอบงานหรือภาระกิจที่ได้รับมา จะสามารถพาเราผ่านไปในช่วงวิกฤตเช่นนี้ได้

แต่ถ้าพิจารณาการ Support ขององค์กรไม่เอื้อต่อเรา ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ไหวแล้วจริงๆ ควรหยุด ไม่ควรทนจนต้องเสียสุขภาพจิตจนต้องรักษาล้มป่วย อาจยากแต่ เราต้องกลับมาหาสภาวะที่รักษาจิตใจและร่างกายของเรา เรามีสิทธิที่จะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดเสมออย่าทนแบบหัวปักหัวปำ เพราะนี่ไม่ใช่ทางเลือกเดียวในชีวิตของคุณ

 

ค่าของคนอยู่ที่ผลของงานจริงไหม? แล้วถ้าผลงานออกมาไม่ดีเราจะยังมีคุณค่าหรือเปล่า?

ปัจจุบันมีตัวชี้วัดหลายอย่างมาชี้วัด และมีผลมากมายหลากหลายให้พิจารณา ทำให้คำพูดเหล่านั้นถูกนำกลับมาพิจารณาใหม่ จริงหลายครั้งที่เรากลับมาคิดงานอาจไม่ได้เป็นทั้งหมดของชีวิต เพราะชีวิตยังมี สังคม เพื่อน ครอบครัว ฯลฯ ปัจจัยอีกมากมายที่ทำให้คุณค่าชีวิตไม่ใช่กับการอยู่กับงานตลอดเวลา บางคนชอบการบริหารสัดส่วนเวลา แบบ 888 คือ นอน 8 ทำงาน 8 อยู่บ้าน 8 แต่ในบางคนก็มองงานคือทุกอย่างและคุณค่าของคนนั้นอยู่ที่งานเท่านั้นก็มี แต่การวัดคุณค่าจริงๆขึ้นอยู่ว่าเราใช้สิ่งใดมาวัดแล้วเราวัดในช่วงที่เราอยู่ ณ จุดใด เราอาจพูดได้ว่าจริงๆแล้ว “คุณค่าของงานอยู่ที่ผลงาน แต่คุณค่าของคนไม่ได้ขึ้นอยู่กับงาน แต่อยู่ที่ตัวเรา” บางคนไม่ได้ทำงานตลอดเวลา แต่มีเป้าหมายที่ตั้งไว้ การทำงานที่ไม่ได้ถูกมองว่าเป็นงานก็สร้างคุณค่ากับชีวิตตัวเองได้เช่นกัน ฉะนั้นการออกแบบชีวิตของตัวเองสามารถสร้างคุณค่าให้ตัวเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับงาน ฉะนั้นในภาวะงานที่มากมายจนเราไม่ไหวแล้วบางครั้งเราต้องหันมามองคุณค่าความเป็นมนุษย์ ลองเปิดโอกาสให้ตัวเองได้ลองทำสิ่งอื่นๆนอกเหนือจากงานบ้าง งานคือทางผ่านของชีวิต การรักษาความสมดุลในชีวิตจึงสำคัญกว่า แถมอาจเป็นตัวเติมไฟในการทำงานได้อีกอย่างไม่น่าเชื่อ

ในยุคของวิกฤต งานที่มากขึ้นกับความท้าทาย หรือการได้รับมอบหมายงานที่ยากเกินไป เราจะต้องทำอย่างไร

งานที่มากจนล้นมือภาวะเศรษฐกิจและโรคระบาดในปัจจุบัน การปรับตัวทั้งการทำงานและการบริหารเงินก็ต้องปรับตัว การออกแบบการทำงานโดยใช้ Tool ต่างๆ ของเทคโนโลยีที่มีเพื่อการสื่อสาร และการทำงานให้สอดคล้อง มีประสิทธิภาพมากที่สุด งานที่ยากและไม่ถนัดอาจเข้ามา เราจะจัดการอย่างไรดี

  • การศึกษาและประเมินการทำงานอย่างสม่ำเสมอ การศึกษาและประเมินสถานการณ์ รวมถึงการหาคนที่สามารถทำงานพร้อมศึกษา พัฒนาไปพร้อมๆกัน
  • มองให้เห็นถึงความจำเป็น หรือตั้งเป้าหมาย ที่ต้องทำงานที่รับมอบหมายให้ลุล่วง
  • การได้งานที่ยากเกินไปหรืองานที่ไม่ถนัด เราอาจจะตั้งคำถามกับตัวเองถึงจุดมุ่งหมายในการทำงานของตัวเอง การทบทวนอาจเป็นแรงพลักดัน ทำให้เราผ่านงานที่ยากหรือไม่ถนัดไปได้
  • สร้างความกล้าหาญในการที่จะเผชิญหน้ากับการทำงานที่ไม่คุ้น ไม่ถนัด สร้างพลังให้ผ่านงานเหล่านั้นไปได้
ปรับความคิดได้ไหมถ้าต้องทำงานที่ไม่รัก?

ไม่มีใครทำงานที่รักได้ตลอดไป เมื่อต้องทำงานที่ไม่รัก จะต้องทำอย่างไรมีความคิดเล็กๆมาแนะนำดังนี้

  1. ปรับมุมมองหาคุณค่าของงานที่จะทำ เพราะไม่มีงานอะไรที่ สมบูรณ์แบบ การสร้างมุมมองกับงาน รู้ถึงคุณค่าของการทำงานนั้น สร้างอะไรและให้อะไรเมื่อพบมุมมองที่ดีกับงาน
  2. สร้างขั้นตอนการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายของงานนั้นๆ skill การทำงานที่จำเป็นต้องใช้ เพื่องานที่สำเร็จ
  3. สร้างบรรยากาศให้สนุกกับการทำงาน มองหาความท้าทาย และสร้างบรรยากาศที่ดี สนุกสนานไปกับการทำงานผ่านความท้าทายต่างๆ
  4. ถ้าทำและไม่สนุกต้องรู้จักหาสิ่งที่เป็น Support ด้านจิตใจไว้รองรับเสมอ ไม่มีใครสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วกับงานที่ไม่ชอบ จึงต้องมีพื้นที่ไว้เพื่อผ่อนคลายเป็นที่พักใจของเรา
“ลองเช็กตัวเองกันอีกสักรอบ ว่าไหวกันอยู่ไหม หรือพอจะทำอะไรได้บ้าง เพื่อทำให้เราอยู่ไหว และกลับไปทำงานด้วยใจที่มั่นคงอีกครั้ง”

ข้อมูลจาก THE STANDARD PODCAST รายการ R U OK

รับชมรับฟังเต็มๆได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=1DLUJ8uiOig

Cr.รูปภาพบางส่วนจาก https://www.pexels.com/