เศร้าจัง… หลังหยุดยาว ไม่อยากทำงานเลย แก้ยังไงดี ?

หลังจากหยุดกันยาวๆ อย่างชื่นช่ำสบายอุรามานั้น คุณก็มาพบว่าวันรุ่งขึ้น ต้องมาทำงาน !! โอ้ไม่นะ!? นี่ฉันต้องไปทำงานแล้วหรือนี่ แล้วเราจะพบว่าหลายคนจะมีอาการมากมาย รู้สึกว่าไม่อยากไปทำงาน รู้สึกเบื่อหน่าย ไม่อยากพบปะ ไม่อยากพูดคุย ไม่อยากเจอะเจอมรสุมแห่งวิถีการทำงาน ฯลฯ ในทางจิตเวช เรียกอาการนี้ว่า Post-vacation Blues เรามาดูกันสิว่าเราจะมีเคล็ดลับอย่างไรที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆเหล่านี้ เพื่อให้คุณกลับมามีไฟและพร้อมจะลุยต่อ

ก่อนอื่นเราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Post-vacation Blues กันก่อน

Post-vacation Blues

เป็นภาวะหนึ่งที่เกิดขึ้น หลังจากเราหยุดยาว แล้วพอกลับมาทำงานมันมีผลต่อร่างกาย ให้รู้สึกเบื่อหน่าย เมื่อเริ่มพักผ่อนเยอะ ร่างกายก็จะเคยชินกับการพักผ่อน เลยไม่พร้อมที่จะกลับมาทำงาน จริง ๆ แล้วการเกิดอาการแบบ นี้ ขึ้นอยู่กับ ความรู้สึกอยากจะทำงานมากน้อยแค่ไหน สำหรับคนที่รู้สึกไม่ดีกับการทำงาน อันนี้ก็จะเกิดอาการดังกล่าวเยอะขึ้นถ้าคนที่ชอบงานจะไม่รู้สึกแบบนี้

แล้วอาการนี้จะส่งผลกระทบอย่างไรกันการทำงาน ?
  • ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานลดลง
  • ไม่มีสมาธิในการทำงาน มีอาการหงุดหงิดอารมณ์เสีย ใจลอย
  • รู้สึกไม่อยากทำงาน มีความวิตกกังวล
วิธีเอาชนะ Post-vacation Blues

หากคุณเป็นนักวางแผน ก็วางแผนเที่ยวครั้งต่อไปเลยก็ดี โดยช่วงหนึ่งอาทิตย์ ก่อนไปเที่ยว ควรเคลียร์งานให้เสร็จเรียบร้อย ถ้าให้ดีกว่านั้นคือเตรียมงานใหม่ไว้รอเลย พอกลับมาจะทำให้รู้สึกว่าสามารถทำงานต่อยอดไปจากเดิมได้ เพียงเท่านี้ก็ไม่หดหู่ เมื่อกลับมาทำงานหลังหยุดยาวอีกต่อไปแล้ว

แต่ถ้าเหตุผลของความเบื่อของคุณเป็นอย่างอื่นจะทำอย่างไร
  1. กลับมาเจองานที่น่าเบื่อ เพราะความรู้สึกที่มีต่องานและที่ทำงานเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ยิ่งหยุดยาวเท่าไหร่ความเบื่องานก็จะยิ่งมากขึ้น สร้างความล้าช้าในการทำงาน และเป็นสาเหตุให้ทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพในที่สุด

คุณอาจต้องลองหามุมมองใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ สร้างความท้าทายให้ตัวเอง ลดความน่าเบื่อในการทำงาน อาจตั้งโจทย์ให้ตัวเอง ปรับแผนการทำงาน เป็นต้น หรืออาจหาความท้าทายที่ไม่เกี่ยวกับงานไปเลย แต่ต้องทำแล้วไม่กระทบต่องานหรือตารางเวลาที่วางไว้

  1. กลับมาเจอบรรยากาศเดิมๆ การหยุดยาวแล้วได้ออกไปเที่ยวทำให้มีชีวิตชีวา และเมื่อต้องกลับมาสู่สิ่งแวดล้อมเดิมๆ ก็อาจทำให้เกิดความเบื่อหน่ายได้ง่าย

คุณอาจเปลี่ยนอิริยาบถ การลุกเดินบ้าง ย้ายไปนั่งทำงานในมุมที่ชอบบ้าง หรือหากมีมุมกีฬาของบริษัท ก็อาจชวนเพื่อไปเล่นเพื่อพักผ่อนสักครู่แล้วกลับมาทำงานใหม่อีกครั้งก็ช่วยได้

  1. เกิดความไม่ต่อเนื่องในการทำงาน จนต้องปรับตัวใหม่ มีไม่น้อยที่เมื่อหยุดไปนานๆ ทำให้กระบวนการทำงานที่เราเคยชินถูกขัดจังหวะ ทำให้การทำงานในจังหวะการทำงานดูติดๆขัดๆ ทำให้การทำงานช้ากว่าเดิมได้ประสิทธิภาพที่ลดลง

คุณอาจขอขยายกรอบเวลาทำงาน การเลื่อนหรือขยายกำหนดการทำงานออกไปสักหน่อย เพื่อลดความเครียดในการทำงาน และปรับจังหวะการทำงานให้กลับมาทำงานเดิมได้ในเวลาที่ไวที่สุด

  1. พักผ่อนไม่เพียงพอ การเดินทางไปท่องเที่ยวอาจสร้างความเหนื่อยล้า และการพักผ่อนไม่เพียงพออาจสร้างความหงุดหงิดได้ การทำงานแบบไม่สดชื่น ง่วงนอนตลอดเวลา ก็ลดประสิทธิภาพการทำงานได้เช่นกัน
  • คุณอาจงีบสักพัก
  • จิบกาแฟ หรือดื่มเครื่องดื่มให้รู้สึกสดชื่น
  • ล้างหน้าล้างตาให้สดชื่น

หากคุณรู้สึกง่วงลองใช่วิธีต่างๆข้างต้นช่วยลดอาการง่วง และเติมความสดชื่นให้คุณกลับมาพร้อมทำงานได้อีกครั้ง

  1. ขี้เกียจทำงาน คิดอะไรไม่ออก ง่วงเหงาหาวนอน ความเกียจคร้านเกิดขึ้นได้เสมอ ยิ่งถ้าหยุดยาวๆ ก็ยิ่งเกิดได้ง่าย ทำให้สมองไม่แล่น คิดอะไรไม่ออก ทำงานก็เกิดความเฉื่อยชา

การเปิดเพลงคลอในการทำงาน การสร้างบรรยากาศด้วยเสียงเพลงที่คุณชอบจะทำให้ความรู้สึกเบื่อลดน้อยลง อาจใช้เพลงจังหวะเร็ว หรือฟังสบายๆ ให้ผ่อนคลาย ขึ้นอยู่กับว่าเพลงแบบไหน สร้างความสุขในการทำงาน ความตื่นตัวให้คุณได้มากกว่ากัน

พักไปทำอะไรใหม่ๆ บ้าง หาอะไรใหม่ๆทำ ลดความจำเจ ดูหนัง นั่งเล่น อานหนังสือ หรือจิบกาแฟ สักพักก็ช่วยได้เช่นกัน

  1. ประสบปัญหาด้านการเงิน การใช้เงินในช่วงวันหยุดยาว ไม่ว่าจะเป็นจากการท่องเที่ยว จากเหตุการณ์ไม่คาดคิดช่วงวันหยุดยาว ทำให้ต้องใช้เงินไปจำนวนมาก จนเกิดความเครียดเรื่องเงิน

อาจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน พยายามหาวิธิจัดการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผ่านผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินต่างๆ

อาจปรึกษาฝ่ายทรัพยากรบุคคล หากมีปัญหาจริงๆ อาจลองปรึกษาฝ่ายบุคคล เพราะบางบริษัทอาจมีระบบเงินฉุกเฉินเพื่อช่วยพนักงาน หรือรูปแบบอื่นๆเพื่อช่วยพนักงาน ตลอดจนอาจมีวิธีแนะนำที่เหมาะสมในการช่วยแก้ปัญหาด้านการเงินได้

  1. เครียดจากเรื่องอื่นๆ หยุดยาวอาจพบเจอประสบการณ์บางอย่างที่ไม่พึงประสงค์ จนทำให้เกิดภาวะเครียด ที่ยังส่งผลกระทบต่อเนื่อง จนอาจกระทบต่อการทำงาน

คุณอาจปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเรื่องจิตเวช การพบหรือปรึกษาแพทย์ด้านจิตเวช ทำให้สามารถระบายปัญหา หรืออาจช่วยให้พบทางออกที่ดีได้

ปรึกษาแพทย์ หากพบอุบัติเหตุกับร่างกายแบบกระทันหันการเข้าพบแพทย์ช่วยรักษาให้ถูกต้องตามอาการตามโรค จะลดปัญหากังวลใจได้

“ไม่ว่าจะเครียดจากเรื่องใดหาสาเหตุให้เจอ แล้วทำการแก้ไขหรือรักษา เพื่อให้เกิดความสบายใจ และเพื่อไม่ให้กระทบต่องาน”

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก

https://www.springnews.co.th/

https://th.hrnote.asia/

https://www.pexels.com/

https://unsplash.com/